ตามที่ได้เรียนรู้วิธีการสร้างบล็อกและใช้งานแล้ว และได้ส่งงานผ่านทางบล็อก คิดว่ามีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนหรือการบริหาร ซึ่งจะนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพ กล่าวคือ การสร้างบล็อกสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน โดยให้นักเรียนบูรณาการการส่งงานหรือการทำกิจกรรมโดยการส่งงานไปยังบล็อก ทำให้นักเรียนสนุกกับการเรียนและช่วยให้ส่งงานได้รวดเร็ว นอกจากนี้ครูยังสามารถเก็บข้อมูล อาจจะเป็นเนื้อหา กิจกรรมต่างๆให้นักเรียนเข้าไปศึกษาคราวหลังได้ นับว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถนำสื่อสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนและการทำงานด้านอื่น
ผลดีของการทำบล็อก
1.ส่งงานได้รวดเร็ว
2.เก็บข้อมูลไว้ศึกษาทีหลังได้
3.ให้ผู้อื่นศึกษาต่อได้
4.สามารถมีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นความรู้ใหม่ๆได้ด้วย
5.เป็นสื่อที่ใช้แสดงความคิดเห็นความรู้สึกของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเสนอให้ผู้คนสาธารณะได้รับรู้
6.เป็นแหล่งความรู้ใหม่ที่ถูกต้องและชัดเจนจากผู้ที่มีความรู้เฉพาะด้านนั้นๆ เนื่องจากผู้เขียนบล็อกมักจะเขียนเรื่องที่ตนถนัด ชอบและมีความรู้สึกในเรื่องนั้น
7. ทำให้ทันต่อเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน เพราะข่าวสารความรู้มาจากผู้คนมากมาย และมักจะเปลี่ยนแปลงทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ
8.เป็นเครื่องมือที่ใช้ในธุรกิจ เช่น การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวขององค์กร เป็นต้น
ผลเสียของการทำบล็อก
1.องค์ความรู้ที่เราสร้างจะรู้เฉพาะคนที่ท่องโลกไซเบอร์เท่านั้น ส่วนคนที่ไม่มีความรู้ทางสารสนเทศจะไม่สามารถร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเราได้เลย
2.โลกการสื่อสารไร้พรมแดนมีทั้งดีและไม่ดี เป็นเหมือนดาบสองคม บางกรณีอาจมีผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาโพสต์ข้อความที่ไม่เหมาะสมลงไปในบล็อกของเรา ทำให้เกิดข้อความไม่สุภาพและเป็นภัยต่อสังคมสารสนเทศได้
3.ผู้ที่สร้างบล็อกเองก็สามารถนำข้อความหรือเรื่องหมิ่นเหม่ที่เป็นภัยต่อสังคมมาลงในบล็อคเพื่อเผยแพร่สู่เยาวชนได้
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับการรู้เท่าทัน ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร ต้องมีสติ คุณธรรมประกอบไปกับวิทยาการสมัยใหม่ เพื่อให้ได้ตระหนักถึงคุณประโยชน์ที่เกิดกับสังคมให้มากที่สุด
ในการเรียนวิชาการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ ผู้เรียนได้เรียนรู้เครื่องมือและนวัตกรรมทางด้านสื่อสารสนเทศอย่างมากมาย เป็นการเรียนรู้ที่ไม่สามารถหาได้จากที่อื่นใดได้ง่ายๆ เพราะในการเรียนวิชานี้เป็นการเรียนที่ประกอบไปด้วยการทำกิจกรรมอื่นใด และได้นำผลจากการกระทำนั้นๆมาเผยแพร่ เช่น การศึกษาดูงาน ได้ความรู้จากการเรียน การสร้างบล็อก และยังมีสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว คือ ความรัก ความเอื้ออาทรจากอาจารย์ จากเพื่อนๆ ที่ได้ทำกิจกรรมดีๆ รูปภาพและวีดิโอที่เพื่อนๆหลายคนนำมาเผยแพร่ผ่านทางบล็อกจะเป็นสื่อที่เป็นความทรงจำที่ดี นับว่าได้ทั้งความรู้และความรัก ขอบคุณตัวเองที่ได้ฉวยโอกาสในการเรียนป.บัณฑิตบริหารรุ่นสุดท้ายไว้ มีความสุขกับการคิดดีและการกระทำดีๆของตัวเองเสมอ...จนได้เจอสิ่งดีๆ ขอบคุณจริงๆค่ะ..."รัก"
วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
กิจกรรมที่ 4
ศึกษาระบบข้อมูลโรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาลเมืองทุ่งสง(วัดท่าแพ)
๑. บริบทสถานศึกษา...โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาลเมืองทุ่งสง(วัดท่าแพ) สังกัดเทศบาลเมืองทุ่งสง ตั้งอยู่บ้านท่าแพใต้ เลขที่ ๒ ถนนทุ่งสง-นครศรีธรรมราช ตำบลปากแพรก อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช โทรศัพท์ ๐๗๕ - ๔๑๑๓๙๗ บนเนื้อที่ ๕ ไร่ ๓ งาน ๒๑.๑ ตารางวา
สภาพชุมชน ประกอบด้วยชุมชนท่าแพเหนือ ท่าแพใต้ และชุมชนรอบๆในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสง เช่น ชุมชนบ้านในหวัง ชุมชนบ้านนาเหนือ นอกจากนี้ยังมีชุมชนเขตบริการ เช่น ตำบลถ้ำใหญ่ ตำบลนาหลวงเสน เป็นต้น ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร รับจ้าง มีรับราชการบ้างบางส่วน
นักเรียนส่วนใหญ่เป็นนักเรียนภายในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสง และนักเรียนรอบนอกบ้าง โดยเน้นการให้โอกาสทางการศึกษา เดิมเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นปฐมวัย/อนุบาล ถึง การศึกษาภาคบังคับ ปัจจุบันจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๑-๓)
จุดเด่น โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาลเมืองทุ่งสง(วัดท่าแพ)เป็นโรงเรียนของชุมชน สถานที่สวยงามเหมาะกับการใช้เป็นสถานที่ที่ใช้บริการด้านต่างๆให้กับชุมชน ประกอบการจัดการเรียนการสอนแบบสองภาษา มุ่งจัดการศึกษาตามรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เน้นการมีส่วนร่วมที่ได้มาตรฐานและความเป็นเลิศสอดคล้องกับภูมิปัญญาวัฒนธรรมท้องถิ่น
จุดด้อย โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาลเมืองทุ่งสง(วัดท่าแพ)ยังขาดแคลนบุคคลากรบางวิชาเอกในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เช่น บุคลากรด้านดนตรีไทย จึงยังขาดแคลนและขาดการเชื่อมโยงกับการสร้างนักเรียนและการจัดกิจกรรมด้านดนตรีไทย เป็นต้น
ข้อมูลนักเรียน นักเรียนส่วนใหญ่เป็นบุตรหลานของคนในชุมชนใกล้เคียง ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดจำนวนนักเรียนในปีการศึกษา ๒๕๕๓ ดังนี้
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๘ ห้องเรียน (ชาย ๑๐๙ คน , หญิง ๑๓๐ คน) รวม ๑๓๙ คน * หมายเหตุ ห้อง ๙ นักเรียนโรงเรียนกีฬาเทศบาลเมืองทุ่งสงมาร่วมฝากเรียน
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๘ ห้องเรียน (ชาย ๑๔๒ คน , หญิง ๑๑๖ คน) รวม ๒๕๘ คน * หมายเหตุ ห้อง ๙ นักเรียนโรงเรียนกีฬาเทศบาลเมืองทุ่งสงมาร่วมฝากเรียน
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๘ ห้องเรียน (ชาย ๑๔๒ คน , หญิง ๑๒๒ คน) รวม ๒๖๔คน * หมายเหตุ ห้อง ๙ นักเรียนโรงเรียนกีฬาเทศบาลเมืองทุ่งสงมาร่วมฝากเรียน
รวมทั้งหมด มีจำนวนห้องเรียน ๒๔ ห้อง จำนวนนักเรียนชายทั้งหมด ๓๙๓ คน จำนวนนักเรียนหญิงทั้งหมด ๓๖๘ คน รวมนักเรียนในปีการศึกษา ๒๕๕๓ ทั้งหมด ๗๖๑ คน
ข้อมูลบุคลากร รวมบุคลากรทั้งหมดในโรงเรียน ๕๗ คน ประกอบด้วย คณะผู้บริหาร ๓ คน ครูประจำการ ๔๕ คน พนักงานจ้าง ๕ คน นักการ ๔ คน
ข้อมูลงานวิชาการ ในปีการศึกษา ๒๕๕๓ ทางโรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาลเมืองทุ่งสง(วัดท่าแพ)ได้รับสมัครนักเรียนที่มีผลการเรียนตั้งแต่ ๒.๘๐ ขึ้นไป เข้าเรียนในชั้นม.๑ จำนวน ๓ ห้องเรียน ซึ่งเป็นนักเรียนโปรแกรม ประกอบด้วย ๓ โปรแกรมคือ โปรแกรมวิทย์-คณิต จำนวนนักเรียนที่รับ ๒๐ คน , โปรแกรมส่งเสริมความสามารถพิเศษด้านวิชาการ จำนวนนักเรียนที่รับ ๒๐ คน , โปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟฟิค จำนวนนักเรียนที่รับ ๒๐ คน ซึงเป็นการเน้นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับสูง เพราะนักเรียนเหล่านี้จะเป็นตัวแทนในการแข่งขันทักษะด้านวิชาการและเป็นผลผลิตของทางโรงเรียนที่จะสอบเข้าเรียนต่อในสถานศึกษาที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ ส่วนนักเรียนในโปรแกรมทั่วไปจะมี ๕ ห้องเรียน ห้องเรียนละ ๓๕ คน จะสอบเข้าเรียนปกติตามแผนการสอบเข้าเรียนต่อทั่วไปพร้อมกับสถานศึกษาอื่นๆ
การนำนวัตกรรมไปใช้ในการบริหารหรือการเรียนการสอนที่ได้ศึกษาจากการเรียนวิชาการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศไปประยุกต์ใช้คือ นำการทำ blog นำเสนองานต่อคณะกรรมการการประเมินครุต้นแบบของระดับเทศบาล โดยเสนองานให้กรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับระบบการทำงานของโรงเรียนโดยผ่านระบบสานสนเทศ เพื่อการเผยแพร่ข่าวสารให้นักเรียน ผู้ปกครองและผู้สนใจได้รับทราบข้อมูลของโรงเรียน
๑. บริบทสถานศึกษา...โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาลเมืองทุ่งสง(วัดท่าแพ) สังกัดเทศบาลเมืองทุ่งสง ตั้งอยู่บ้านท่าแพใต้ เลขที่ ๒ ถนนทุ่งสง-นครศรีธรรมราช ตำบลปากแพรก อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช โทรศัพท์ ๐๗๕ - ๔๑๑๓๙๗ บนเนื้อที่ ๕ ไร่ ๓ งาน ๒๑.๑ ตารางวา
สภาพชุมชน ประกอบด้วยชุมชนท่าแพเหนือ ท่าแพใต้ และชุมชนรอบๆในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสง เช่น ชุมชนบ้านในหวัง ชุมชนบ้านนาเหนือ นอกจากนี้ยังมีชุมชนเขตบริการ เช่น ตำบลถ้ำใหญ่ ตำบลนาหลวงเสน เป็นต้น ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร รับจ้าง มีรับราชการบ้างบางส่วน
นักเรียนส่วนใหญ่เป็นนักเรียนภายในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสง และนักเรียนรอบนอกบ้าง โดยเน้นการให้โอกาสทางการศึกษา เดิมเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นปฐมวัย/อนุบาล ถึง การศึกษาภาคบังคับ ปัจจุบันจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๑-๓)
จุดเด่น โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาลเมืองทุ่งสง(วัดท่าแพ)เป็นโรงเรียนของชุมชน สถานที่สวยงามเหมาะกับการใช้เป็นสถานที่ที่ใช้บริการด้านต่างๆให้กับชุมชน ประกอบการจัดการเรียนการสอนแบบสองภาษา มุ่งจัดการศึกษาตามรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เน้นการมีส่วนร่วมที่ได้มาตรฐานและความเป็นเลิศสอดคล้องกับภูมิปัญญาวัฒนธรรมท้องถิ่น
จุดด้อย โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาลเมืองทุ่งสง(วัดท่าแพ)ยังขาดแคลนบุคคลากรบางวิชาเอกในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เช่น บุคลากรด้านดนตรีไทย จึงยังขาดแคลนและขาดการเชื่อมโยงกับการสร้างนักเรียนและการจัดกิจกรรมด้านดนตรีไทย เป็นต้น
ข้อมูลนักเรียน นักเรียนส่วนใหญ่เป็นบุตรหลานของคนในชุมชนใกล้เคียง ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดจำนวนนักเรียนในปีการศึกษา ๒๕๕๓ ดังนี้
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๘ ห้องเรียน (ชาย ๑๐๙ คน , หญิง ๑๓๐ คน) รวม ๑๓๙ คน * หมายเหตุ ห้อง ๙ นักเรียนโรงเรียนกีฬาเทศบาลเมืองทุ่งสงมาร่วมฝากเรียน
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๘ ห้องเรียน (ชาย ๑๔๒ คน , หญิง ๑๑๖ คน) รวม ๒๕๘ คน * หมายเหตุ ห้อง ๙ นักเรียนโรงเรียนกีฬาเทศบาลเมืองทุ่งสงมาร่วมฝากเรียน
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๘ ห้องเรียน (ชาย ๑๔๒ คน , หญิง ๑๒๒ คน) รวม ๒๖๔คน * หมายเหตุ ห้อง ๙ นักเรียนโรงเรียนกีฬาเทศบาลเมืองทุ่งสงมาร่วมฝากเรียน
รวมทั้งหมด มีจำนวนห้องเรียน ๒๔ ห้อง จำนวนนักเรียนชายทั้งหมด ๓๙๓ คน จำนวนนักเรียนหญิงทั้งหมด ๓๖๘ คน รวมนักเรียนในปีการศึกษา ๒๕๕๓ ทั้งหมด ๗๖๑ คน
ข้อมูลบุคลากร รวมบุคลากรทั้งหมดในโรงเรียน ๕๗ คน ประกอบด้วย คณะผู้บริหาร ๓ คน ครูประจำการ ๔๕ คน พนักงานจ้าง ๕ คน นักการ ๔ คน
ข้อมูลงานวิชาการ ในปีการศึกษา ๒๕๕๓ ทางโรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาลเมืองทุ่งสง(วัดท่าแพ)ได้รับสมัครนักเรียนที่มีผลการเรียนตั้งแต่ ๒.๘๐ ขึ้นไป เข้าเรียนในชั้นม.๑ จำนวน ๓ ห้องเรียน ซึ่งเป็นนักเรียนโปรแกรม ประกอบด้วย ๓ โปรแกรมคือ โปรแกรมวิทย์-คณิต จำนวนนักเรียนที่รับ ๒๐ คน , โปรแกรมส่งเสริมความสามารถพิเศษด้านวิชาการ จำนวนนักเรียนที่รับ ๒๐ คน , โปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟฟิค จำนวนนักเรียนที่รับ ๒๐ คน ซึงเป็นการเน้นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับสูง เพราะนักเรียนเหล่านี้จะเป็นตัวแทนในการแข่งขันทักษะด้านวิชาการและเป็นผลผลิตของทางโรงเรียนที่จะสอบเข้าเรียนต่อในสถานศึกษาที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ ส่วนนักเรียนในโปรแกรมทั่วไปจะมี ๕ ห้องเรียน ห้องเรียนละ ๓๕ คน จะสอบเข้าเรียนปกติตามแผนการสอบเข้าเรียนต่อทั่วไปพร้อมกับสถานศึกษาอื่นๆ
การนำนวัตกรรมไปใช้ในการบริหารหรือการเรียนการสอนที่ได้ศึกษาจากการเรียนวิชาการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศไปประยุกต์ใช้คือ นำการทำ blog นำเสนองานต่อคณะกรรมการการประเมินครุต้นแบบของระดับเทศบาล โดยเสนองานให้กรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับระบบการทำงานของโรงเรียนโดยผ่านระบบสานสนเทศ เพื่อการเผยแพร่ข่าวสารให้นักเรียน ผู้ปกครองและผู้สนใจได้รับทราบข้อมูลของโรงเรียน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)